วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ประวัติห้องสมุดประชาชนอำเภอทุ่งช้าง

ประวัติความเป็นมาของห้องสมุดประชาชนอำเภอทุ่งช้าง





          ห้องสมุดประชาชนอำเภอทุ่งช้าง  ตั้งอยู่บริเวณหน้าวัดราษฎร์บำรุง  หมู่ที่ ๒  ตำบลทุ่งช้าง  อำเภอทุ่งช้าง  จังหวัดน่าน  รหัสไปรษณีย์ ๕๕๑๓๐  หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ ๐๕๔๗๙๕๑๒๖  เป็นอาคารชั้นเดียวรูปทรงไทย  ขนาดกว้าง ๖ เมตร  ยาว ๙ เมตร  ได้รับการสนับสนุนจากพ่อค้าประชาชนเป็นจำนวนเงิน  ๓๐,๐๐๐  บาท 
          เริ่มก่อสร้าง  เมื่อวันที่  ๖ กันยายน  ๒๕๑๖  เปิดให้บริการ  เมื่อวันที่ ๙  พฤศจิกายน  ๒๕๑๘  ต่อมาได้รับงบประมาณจาก กรมการศึกษานอกโรงเรียน  เป็นจำนวนเงิน  ๖๓๐,๐๐๐  บาท  จึงได้ดำเนินการสร้างห้องสมุดตามแบบของกรมการศึกษานอกโรงเรียน     บนที่ดินเช่าจากวัดราษฎร์บำรุง  เนื้อที่ ๑ งาน  ๑๓ ตารางวา  เป็นระยะเวลา  ๓๐ ปี  และได้เปิดให้บริการกับสมาชิกและประชาชนทั่วไป  ตั้งแต่วันที่ ๒๕  มกราคม  ๒๕๓๙  จนถึงปัจจุบัน
งานบริการภายในห้องสมุด
-          ให้บริการอ่าน  ศึกษาค้นคว้าจากสื่อสิ่งพิมพ์  วารสาร / นิตยสาร  ชุดวิชาแบบเรียนการศึกษานอกโรงเรียนและหนังสืออื่น ๆ
-          ให้บริการยืม คืน  สื่อความรู้ทุกประเภท
-          ให้บริการข้อมูลและเอกสารรายงานการวิจัย
-          ให้บริการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมไทยคม
-          ให้บริการช่วยการค้นคว้า  ตอบคำถาม  ตลอดจนแนะแนวการศึกษาทั้งในระบบโรงเรียนนอกระบบโรงเรียน
-          ให้บริการสถานที่แลกเปลี่ยนพบปะและเปลี่ยนความรู้  และจัดกิจกรรมเสริมความรู้แก่ประชาชน
-          ให้บริการสืบค้นข้อมูลทางด้าน  Internet  ฟรีสำหรับสมาชิก

งานให้บริการภายนอก

-          ออกให้บริการห้องสมุดเคลื่อนที่  ร่วมกับอำเภอและหน่วยงานอื่น ๆ
-          ให้บริการหนังสือหมุนเวียนไปยังที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน
-          จัดหนังสือไว้บริการภายนอกห้องสมุด  เพื่อเป็นการพักผ่อนและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

วัน  เวลา  ที่ให้บริการ

                    ห้องสมุดประชาชนอำเภอทุ่งช้าง  เปิดให้บริการตั้งแต่วันจันทร์ วันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 
๐๘.๓๐  . – ๑๖.๓๐ นหยุดวันนักขัตฤกษ์

ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมกิจกรรม / รับบริการ

-          เปิดให้บริการฟรี
-          ผู้ใช้บริการหากต้องการยืมหนังสือออกจากห้องสมุด ต้องสมัครเป็นสมาชิกห้องสมุดฟรี 

ลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติในห้องสมุดประชาชน

๑. งานบริหารทั่วไป
          ๑. จัดทำแผนการดำเนินงานและการพัฒนาห้องสมุดประชาชน
          ๒. จัดทำทะเบียนรับ ส่ง หนังสือ
          ๓. ร่างโต้ตอบหนังสือ
          ๔. จัดทำทะเบียนสื่อความรู้ทุกประเภททุกชนิด จัดทำทะเบียนวัสดุ ครุภัณฑ์ให้ถูกต้องตามระเบียบและเป็นปัจจุบัน
          ๕. อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการทั้งภายในและภายนอกห้องสมุด บำรุงรักษาซ่อมแซมอาคาร     สถานที่ วัสดุครุภัณฑ์ อุปกรณ์
          ๖. ประสานงาน ส่งเสริมสนับสนุนเครือข่ายในการจัดบริการการอ่าน การศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ทั้ง 2ศูนย์การเรียนชุมชน ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน เป็นต้น
          ๗. ประชาสัมพันธ์การบริการและการจัดกิจกรรมห้องสมุดประชาชนในรูปแบบที่หลากหลายอย่างทั่วถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย
          ๘. ให้คำปรึกษา แนะนำ แก้ปัญหา การปฏิบัติงาน แก่อาสาสมัครและเครือข่าย
          ๙. จัดเก็บสถิติการให้บริการ การดำเนินการ
          ๑๐. จัดทำรายงานผลการดำเนินการ
          ๑๑  จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านเป็นประจำทุกเดือน

๒. งานเทคนิคห้องสมุด
          ๑. ศึกษาวิเคราะห์ สำรวจ ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
          ๒. จัดหา คัดเลือก สื่อความรู้ ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโทรทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อสนองความต้องการของ กลุ่มเป้าหมาย
          ๓. ประทับตรา ลงทะเบียน สื่อความรู้ทุกประเภท ทุกชนิด
          ๔. วิเคราะห์เนื้อหา จัดหมวดหมู่สื่อความรู้ทุกประเภท ทุกชนิด
          ๕. จัดทำระบบสืบค้น เพื่ออำนวยความสะดวกในการค้นหาในรูปแบบบัตรรายการหรือโปรแกรม
              คอมพิวเตอร์ห้องสมุด    รวมทั้งแนะนำการใช้บริการ
          ๖. จัดหาและรวบรวมสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภทเช่น CAI CD-ROM วีดีทัศน์ เทปเสียง
          ๗. จัดทำ  E- BOOK เพื่อเผยแพร่และให้บริการ
          ๘. ติดบัตรยืม ซองบัตร บัตรกำหนดส่ง ฯลฯ ตรวจสอบความพร้อมของสื่อ
          ๙. นำสื่อขึ้นชั้นบริการ ดูและเก็บสื่อให้เป็นระเบียบเรียบร้อยตลอดเวลา
          ๑๐. ซ่อมแซม เย็บเล่ม บำรุงรักษาสื่อ วัสดุอุปกรณ์ที่ชำรุดเสียหายให้พร้อมบริการตลอดเวลา
          ๑๑. จัดหา วิเคราะห์ คัดเลือก สื่อข้อมูลท้องถิ่น จัดทำทะเบียน จัดทำระบบสืบค้น จัดระบบบริการ  นิทรรศการ ฯลฯ
          ๑๒. สำรวจวัสดุ ครุภัณฑ์ทั้งหมดของห้องสมุดตามระเบียบปีละ ๑ ครั้ง
๓. งานบริการ
       ๓.๑ งานบริการภายในห้องสมุดประชาชน
          ๑. บริการยืม คืน สื่อความรู้
          ๒. บริการสืบค้นสื่อความรู้ด้วยคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต บัตรรายการ
          ๓. บริการการอ่าน การศึกษาค้นคว้าจากสื่อความรู้ทุกประเภท
          ๔. บริการสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภท เช่น วีดีทัศน์ เทปเสียง CAI CD – ROM ฯลฯ
          ๕. บริการการเรียนรู้ และทดสอบและความรู้ด้วยตนเองจากสื่อ CD-ROM และทดสอบความรู้
        การสืบค้น ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
          ๖. บริการข้อมูลท้องถิ่น
          ๗. บริการเอกสารงานวิจัย
          ๘. บริการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมไทยคม
          ๙. บริการช่วยค้นคว้า ตอบคำถาม
          ๑๐. บริการจัดทำบรรณานุกรม บรรณนิทัศน์
          ๑๑. บริการให้คำแนะนำการใช้ห้องสมุด
          ๑๒. บริการฝึกประสบการณ์ การปฏิบัติงานเกี่ยวกับห้องสมุดให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
          ๑๓. เป็นวิทยากรเกี่ยวกับห้องสมุดประชาชนให้กับศูนย์การเรียนชุมชนและหน่วยงานต่าง ๆ
          ๑๔. บริการรับบริจาค จัดหา แลกเปลี่ยน ยืม สื่อความรู้ ระหว่างห้องสมุดกับหน่วยงานอื่น ๆ
          ๑๕. บริการสื่ออำนวยความสะดวกในการอ่าน การศึกษาค้นคว้าอื่น ๆ
๓.๒ งานบริการภายนอกห้องสมุดประชาชน
          ๑. จัดบริการหมุนเวียนสื่อเคลื่อนที่ไปยังศูนย์การเรียนชุมชน ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านใน  อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน และศูนย์ประชาคมอื่น ๆ
          ๒. จัดบริการความรู้ตามอัธยาศัย ทางหอกระจายข่ายหมู่บ้าน เสียงตามสาย วิทยุ โทรทัศน์  ฯลฯ
          ๓. จัดบริการแบบเรียน ชุดวิชา สื่อประกอบการเรียนอื่น ๆ ของนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน ไปยังกลุ่มนักศึกษาในศูนย์การเรียนชุมชน
          ๔. จัดบริการร่วมกับอำเภอเคลื่อนที่
เจ้าหน้าที่ห้องสมุด
           นางสาวมะลิกา    มงคล   ตำแหน่ง  บรรณารักษ์อัตราจ้าง
ผู้บริหารสถานศึกษา
         นายศักดิ์อุดม    วรรณทวี  ผู้อำนวยการศูนย์ กศน. อำเภอทุ่งช้าง



บุคลากรห้องสมุดประชาชนอำเภอทุ่งช้าง  จังหวัดน่าน

  
                                      นายศักดิ์อุดม    วรรณทวี
ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอทุ่งช้าง 

                                
                                                                              นางสาวมะลิกา   มงคล
                                                                               บรรณารักษ์อัตราจ้าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น